การใช้งานบัญชีอีเมลประเภทใดนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแต่ละบุคคล สำหรับคนที่ใช้งานหนัก ๆ รับเมลทุกวัน วันละหลายฉบับ ก็คงต้องใช้ประเภทบัญชีแบบ POP ซึ่งจะมีข้อดีคือให้ลบบัญชีอีเมลออกจาก Mail server ตามจำนวนวันที่กำหนดได้ ก็จะไม่มีปัญหาเรื่อง Mailbox เต็ม
สำหรับคนที่ใช้งานบัญชีอีเมลกับหลาย ๆ อุปกรณ์ แล้วต้องการให้ Sent item แสดงข้อมูลการส่งเหมือน ๆ กันทุกอุปกรณ์ ควรจะใช้งานแบบ IMAP ก็จะตอบโจทย์การใช้งานให้กับ Users เป็นอย่างดี
แล้ว Port ต้องใช้ Port หมายเลขอะไร
พอร์ตนี้ ให้เรามองภาพว่ามันเป็นเหมือนกับประตูบ้าน บ้านหลังหนึ่งอาจจะมีทางเข้ามากกว่า 1 ประตู เช่น ประตูหน้าบ้าน, ประตูหลังบ้าน, ประตูชั้นใต้ดิน ดังนั้นถ้าเจ้าของบ้านไม่ได้ Lock ประตูหน้าบ้านไว้ แต่ทางเข้าอื่นห้ามเข้า แสดงว่าเราก็เข้าบ้านหลังนั้นได้จาก ประตูหน้าบ้านทางเดียว นั่นแหละที่เรียกว่า PORT
ดังนั้นการกำหนด Port ของ Mail Server ขารับ และขาออก เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการ Email hosting ซึ่ง Port ขารับ Email ที่ทั่วโลกใช้กัน ได้แก่ 110 (POP3), 143 (IMAP) และกรณีที่เป็น Security Type แบบ SSL ก็จะใช้ Port: 995 (POP3), 993 (IMAP)
Port ขาออก Email ที่ทั่วโลกใช้กัน ได้แก่ 25, 587 (IMAP/POP) และแบบ Security type: SSL จะใช้ 465 ทั้งสองโปรโตคอล คือ IMAP, และ POP
Port Encryption
พอร์ตที่เรียกว่ามีการเข้ารหัส ก็จะเป็น Port ที่มี SSL/TLS ได้แก่ 993, 995, 465 แทนที่ผู้รับจะส่งข้อความออกจาก mail server ตรง ๆ ซึ่งกว่าข้อความจะเดินทางไปถึง mail server ปลายทางก็อาจจะถูก Hack ระหว่างทางได้ เทคโนโลยีการเข้ารหัส จึงช่วยป้องกันปัญหาถูกดักฟังข้อมูล (Eavesdrop) นี้ได้มาก โดยจะมีการแปลงเป็นตัวเลข (Ciphers) 128 bits, 256 bits แล้วแต่ Server ถ้าจะให้ดีและปลอดภัยก็ควรเข้ารหัส 256bit encryption key
บทความที่เกี่ยวข้อง