Skip to content
Menu
Thailand Email Hosting
  • Home
  • Email Hosting
  • Delivery Issues
  • Email Hosting Security
  • Network Knowledge
  • Contact
Thailand Email Hosting

Incoming & Outgoing คืออะไร

December 18, 2021February 10, 2022 by superadmin

หลายๆคน คงเคยได้ยินเกี่ยวกับ ค่า Incoming และ Outgoing email server  หลายๆครั้ง เมื่อต้องไปติดตั้ง อีเมล์ธุรกิจ ในโปรแกรม Outlook, Smart Phone, Tablet และ โปรแกรม Client Email ต่างๆ แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจความหมาย หรือกระบวนการทำงานของมันจริงๆ ในบทความนี้ผู้เขียนจะพยายามอธิบายให้ง่ายที่สุด โดยอาจจะตัดตอนในส่วนที่เป็นคำศัพท์ทางเทคนิค เพื่อให้ผู้อ่านทุกคนสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย เพราะปัจจุบัน อีเมลโฮสติ้ง ได้เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจไปแล้ว

Incoming email server คืออะไร และทำงานอย่างไร ?

กระบวนการทำงานของ Incoming Mail Server

หากแปลเป็นภาษาง่ายๆ บ้านๆ เลย มันก็ คือ Server ที่มีหน้าที่เก็บข้อมูลอีเมล์ “ขาเข้า” ทั้งหมด ที่ผู้ส่งได้ทำการส่งมา โดยกระบวนการทำงานมันก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก โปรดดูรูปภาพประกอบ

จากภาพประกอบจะอธิบายได้ดังนี้

  1. เมื่อผู้ส่งอีเมล์หาเรา จะต้องส่งผ่าน Email Server ของผู้ส่ง ในที่นี่เราเรียกว่า “Sender Email Server”
  2. หลังจากนั้น อีเมล์ฉบับนั้น ก็จะวิ่งมายัง Email Server ของเรา ในที่นี้เรียกว่า Incoming Email Server, และ Email Server ของเราก็จะเก็บอีเมล์ฉบับนั้นเอาไว้ โดย ค่าทางเทคนิคส่วนใหญ่จะเป็น
    imap.domain.com (ในกรณีเชื่อมต่ออุปกรณ์ กับ Email Server ในรูปแบบ IMAP)
    pop.domain.com (ในกรณีเชื่อมต่ออุปกรณ์ กับ Email Server ในรูปแบบ POP)
  3. อุปกรณ์เราก็มีหน้าที่แค่ไปดึงข้อมูลจาก Email Server มาอ่าน หรือ ดู

Outgoing email server คืออะไร และทำงานอย่างไร ?

หากผู้อ่านเข้าใจการทำงานของ Imcoming Email Server แล้ว การทำงานของ Outgoing email server ก็มีหน้าที่ทำงานกลับกันเท่านั้นเอง โดยสามารถดูภาพประกอบด้านล่าง

กระบวนการทำงานของ Outgoing Mail Server

จากภาพประกอบจะอธิบายได้ดังนี้

  1. เมื่ออุปกรณ์คุณส่งอีเมล์ ออกไป 1 ฉบับ เช่น ส่งจาก iPad
    (โดยค่าทางเทคนิคของ Outgoing mail server ส่วนใหญ่ จะมีค่าเป็น smtp.domain.com , port : 25/587) ผู้เขียนแนะนำว่าควรตั้งเป็น Port: 587 เพราะผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยอาจจะมีการ Block Port 25 ทำให้คุณไม่สามารถส่ง Email ออกได้ อุปกรณ์ก็ต้องมีการตั้งว่าจะใช้ Server ใดเป็นตัวส่ง ในที่นี้เรียกว่า Outgoing Mail Server
  2. เมื่อ Outgoing Mail Server ได้รับการติดต่อจากอุปกรณ์ของคุณ ว่าคุณต้องการส่ง  อีเมล์, Outgoing Mail Server ก็จะมีหน้าที่เอาจดหมายฉบับนี้ส่งไปยังปลายทาง
  3. หลังจากนั้น Email Server ปลายทางก็จะได้รับ Email ดังกล่าว ในที่นี้เรียกว่า Receiver Email Server 


บทความที่เกี่ยวข้อง

Mail Server คืออะไร ทำงานอย่างไร
IMAP และ POP สำหรับ Mail Server คืออะไร
วิธีการตรวจสอบ Email Server ของคุณว่ามีมาตรฐานความปลอดภัยหรือไม่

Recent Posts

  • LINE VS Email ใช้อะไรติดต่องานกับลูกค้าดี ?
  • ทำไมไม่ควรส่ง Email โฆษณาผ่าน Email Hosting !
  • ต่ออายุโดเมนต้องรอนานแค่ไหนถึงจะใช้งานได้!
  • ระบบ Email ของ MS365 หรือ Office 365 คืออะไร ?
  • MS365 VS Google Workspace VS Mail Server ต่างกันอย่างไรแบบไหนเหมาะกับเรา ?
  • ไฟล์ eml ในการใช้งาน Email คืออะไร ?
  • ทำไมจึงควรแยกการใช้งานระหว่าง Email Hosting และ Web Hosting ออกจากกัน
  • วิธีการดู Mac Address ใน Window 10
  • วิธีการดู Mac Address ใน iPhone
  • วิธีการ Save File .eml
  • ทำไมการเปลี่ยน NAME SERVER หรือ NS ล่มถึงทำให้อีเมลใช้งานไม่ได้
  • วิธีการ Clear local DNS cache
  • Webmail (HTTPS) Encryption หน้าตาเป็นอย่างไร
  • สถานะโดเมน CLIENT HOLD หรือ REGISTRAR-HOLD
  • แนะนำวิธีแก้ไขปัญหาอีเมลเบื้องต้น ไม่ต้องง้อ IT
  • การ Relay Message มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ?
  • IMAP, POP (SSL/TLS) Encryption Port
  • Relay Message คืออะไร
  • วิธีการดู Email Header ของ Hotmail, Gmail, Outlook, Thunderbird
  • ทำไมเราจึงจดชื่อ domain ที่เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของคนอื่นไม่ได้

aaaa-record a record cname dkim dmarc dns dns record dnsrecord dns type dns work domain email header email security eml file error code error code email error message fillter spam imap imap mailserver incoming mailserver ip ipv4 ipv6 mac address mailbox mail delayed mail hosting mailserver mail server mx mx record ns record outgoing mailserver point dns pop pop mailserver reject message server email spam mail spf record whois domain ข้อความตีกลับ ปัญหา spam mail อีเมลตีกลับ

©2023 Thailand Email Hosting | Powered by WordPress and Superb Themes!