ไฟล์ eml (Electronic Mail Format) นั้นคือนามสกุลไฟล์ไฟล์หนึ่งซึ่งจะรวบรวมข้อมูลของ Email ทั้งฉบับนั้นไว้ในไฟล์เดียวซึ่งประกอบด้วย Email Header ซึ่งจะมีข้อมูล IP ของ Sender Mail Server, SPF, DMARC, DKIM และเนื้อหาใน Email (Email Body) ทั้งหมดซึ่งส่วนใหญ่ใช้เพื่อการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคหรือ Backup ข้อมูล โดยส่วนใหญ่ไฟล์นามสกุล eml จะสามารถเปิดได้ใน Email Client ที่เป็นที่นิยม เช่น Microsoft Outlook, Mozila Thunderbird ประโยชน์ของไฟล์ eml ใช้เพื่อ Save File Email ทั้งฉบับออกมาเป็นไฟล์เดียว Save Email หลายๆฉบับ โดยหนึ่งฉบับจะเป็นหนึ่งไฟล์เพื่อการ Backup ใช้เพื่อส่งไปยังผู้ให้บริการ Email Hosting เพื่อวิเคราะห์ปัญหาทางเทคนิค เช่น ไม่มั่นใจว่า…
Category: Email Network Knowledge & Issue
แนะนำวิธีแก้ไขปัญหาอีเมลเบื้องต้น ไม่ต้องง้อ IT
ปัญหายอดฮิตสำหรับพนักงานออฟฟิศที่ใช้งานอีเมล คือ รับอีเมลไม่ได้, ส่งอีเมลไม่ได้, ลืมรหัสผ่าน ซึ่งในวันนี้ผู้เขียนอยากจะแนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาพื้นฐานด้วยตนเองโดยไม่ต้องง้อ IT เพราะ IT บางทีงานเยอะ หรือบางองค์กรก็ไม่มี IT มาคอย Support End-users ปัญหาอีเมลชื่อบริษัทโดยเฉพาะ รับอีเมลไม่ได้จากทุกผู้ส่ง หมายความว่าทุก Senders ที่ส่งข้อความมาที่ Email account เราจะไม่ได้รับอีเมลสักฉบับเลย ขั้นแรก ให้เราเปิดเว็บเมลตรวจสอบที่หน้า Mailbox ของบัญชีอีเมลดังกล่าวว่ายังมีพื้นที่เหลืออยู่หรือไม่ ถ้า Mailbox เต็ม แถบสถานะด้านล่างจะแสดงเป็น 100% of 100% หรือถ้าใกล้เต็มจะเป็นตัวอักษรสีแดงซึ่งวิธีการแก้ไขด้วยตนเองง่ายมาก คือ ลบข้อความเก่า ๆ ที่ไม่ต้องการแล้ว ออกจาก Mailbox: Inbox, Sent, Junk/Spam folders ต่าง ๆ จากนั้นตามไปลบแบบถาวรอีกครั้งที่ Trash folder ซึ่งจะทำให้พื้นที่ Mailbox เหลือมากขึ้น จนสามารถรับข้อความต่อไปได้ ถ้า Mailbox…
Mac Address คืออะไร
MAC Address หรือ Hardware Address เป็นชุดเลขฐาน 16 จำนวน 12 ตัว ซึ่งชุดเลขดังกล่าวนี้เป็นการยืนยันตัวตนของเครื่อง ๆ นั้นว่ามีอยู่จริง ไม่มีใครซ้ำได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า Physical Address เสมือนคนไทยก็ต้องมีเลขประจำตัวประชาชน เช่นเดียวกันอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ Internet ก็ย่อมมี Mac Address ที่ติดตัวมาจากโรงงานผู้ผลิต ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตามตัวอย่าง เคยสังเกตไหมว่า เวลาเราจะใช้ Wi-Fi ของทางมหาวิทยาลัย เขาก็จะบังคับให้นักศึกษาลงทะเบียนกรอก Mac Address ของอุปกรณ์ลงไปฐานข้อมูลก่อน เพื่อเป็นการจำกัดการใช้งาน เมื่ออุปกรณ์ดังกล่าวถูก Access point ตรวจสอบว่ามีชุดเลข Mac Address ตรงกับฐานข้อมูล ก็จะสามารถเข้าใช้งาน Internet ของมหาวิทยาลัยได้ ซึ่งบางสถานศึกษาอาจจะมีการกำหนดให้นักศึกษาปริญญาตรี, ปริญญาโท และปริญญาเอก สามารถลงทะเบียนได้ 2 Mac Addresses แต่คณะอาจารย์และบุคคลากรของมหาวิทยาลัยสามารถลงทะเบียนได้ 3 Mac…
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Email ถูกส่งจากไหนใครเป็นคนส่ง ?
เมื่อเราได้รับ Email ที่ไม่ค่อยดีนัก เช่น Spam Mail จนไปถึง Email หลอกลวง (Phishing Email) ซึ่งอาจจะทำให้องค์กรหรือตัวเราเกิดความเสียหายสิ่งแรกที่ทุกคนมักจะทำคือค้นหาว่าใครเป็นผู้ส่งหรือสร้าง Email ที่เกิดผลเสียให้แก่องค์กรของเรา ซึ่งจริงๆแล้วการยืนยันตัวตนของผู้ส่ง Email เป็นสิ่งที่ไม่ได้ทำได้ง่ายๆแบบที่หลายๆคนคิด เพราะคนที่สร้าง Email หลอกลวงขึ้นมานั้นย่อมหลบหลีกด้วยวิธีที่คนธรรมดาไม่สามารถมีอำนาจตรวจสอบได้ง่ายๆ แต่ก็มีวิธีที่ดูได้คร่าวๆ เช่น ประเทศของผู้ส่งเราตามไปดูกัน ตรวจสอบจาก Sender Domain หากการส่งนั้นๆส่งถูกต้องตาม SPF (Sender Policy Framework) เราก็เพียงนำชื่อ Domain Name ของผู้ส่ง (Sender Domain) มาตรวจสอบหาข้อมูลเจ้าของ Domain ได้แต่เมื่อเอาเข้าจริงๆ Hacker ก็มักจะปิดบังข้อมูลของ Domain ไว้เพราะคงไม่มีใครใส่ชื่อนามสกุลจริงไว้ว่าเป็นเจ้าของ Domain ที่นำไปทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือถูกกฏหมาย ซึ่งหากเราอยากรู้ IP ของผู้จด Domain จริงๆ เราก็อาจจะต้องมีหมายศาลของผู้ให้บริการ Domain ที่ผู้ไม่หวังดีทำการจดเพื่อขอ IP…
ใช้งาน Email แบบ IMAP ส่งผลให้คอมพิวเตอร์ช้า ?
การเชื่อมต่อมายัง Email Server นั้นมี 2 วิธีหลักๆ คือ IMAP และ POP ซึ่งหลายๆคนเข้าใจกันดีว่าการเชื่อมต่อแบบ POP คือการดูดข้อมูลลงมาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราแต่การเชื่อมโยงแบบ IMAP คือการ Sync ข้อมูลกับ Mail Server แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าการเชื่อมต่อแบบ IMAP อาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยรวมของท่านหากมีการตั้งค่าที่ไม่เหมาะสม การเชื่อมต่อแบบ IMAP ทำงานอย่างไร ? การเชื่อต่อแบบ IMAP คือ การที่คอมพิวเตอร์ของท่านจะโหลดข้อมูลเนื้อหาใน Email (Message Body) รวมถึงไฟล์แนบ (File Attachment) ต่อเมื่อท่านกดเข้าไปอ่าน Email นั้นๆ ซึ่งต่างจากการเชื่อมต่อแบบ POP ซึ่งจะ Download Email ทั้งหมดลงคอมพิวเตอร์ของท่านทันที จุดประสงค์ที่แท้จริงของการใช้งานแบบ IMAP จริงๆแล้วการทำงานแบบ IMAP ถูกออกแบบให้เหมาะสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น มือถือ / Tablet หรือหากเป็นคอมพิวเตอร์ก็อาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ที่มิได้ใช้ทำงานเป็นกิจลักษณะ…
KEYWORD ที่พบได้บ่อย ๆ ในข้อความตีกลับ
เมื่อผู้ใช้งานได้รับอีเมล์ตีกลับ ที่เต็มไปด้วยศัพท์แสงทางเทคนิคที่หลายครั้งก็อ่านไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ผู้เขียนจึงนำ Keyword ในข้อความตีกลับที่พบเห็นกันบ่อย ๆ มาให้อ่านเพิ่มเติม ซึ่งข้อความตีกลับที่มี Keyword ลักษณะนี้จะพบได้ก็ต่อเมื่อ ผู้ส่งนั้นทำการส่งข้อความไปยังอีเมล์ปลายทางที่ไม่มีจริงในระบบ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งใจส่ง หรือไม่ตั้งใจส่ง action was not taken because this server doesn’t handle mail for that user does not like recipient mailbox not found mailbox unavailable mailbox unavailable or not local No such person at this address No such recipient here No Such User Here Recipient…
Error 550-5.7.1 เมื่อส่งข้อความไปยัง Gmail account
จากภาพด้านบนเป็นตัวอย่างของข้อความตีกลับ Error 550-5.7.1 เกิดขึ้นตอนที่ เราใช้บัญชีอีเมลส่งเข้าไปที่บัญชีอีเมล @gmail.com ซึ่งวิธีแก้ไขให้เราเริ่มจากการอ่าน Error ตาม Error บอกว่า IPv6 ของเราที่ใช้ส่งข้อความมานั้น เป็น IP ที่ไม่มี PTR Record และไม่มีการ Authentication กล่าวคือ ไม่อาจยืนยันตัวตนของผู้ส่งได้ว่าเป็นใครมาจากไหน เสมือนเป็น IP เถื่อนนั่นเอง ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่ Mail server ผู้รับส่วนใหญ่ ไม่อยากรับข้อความจาก IP แปลก ๆ เพราะมักจะเป็นข้อความสแปมเสมอ ๆ ถ้ายังไม่เข้าใจให้เราสังเกตในข้อความตีกลับ จะมีลิงค์อยู่ใน Error ด้วย เมื่อเปิดเข้าไปอ่าน ก็จะมีบทความขยายความถึงสาเหตุ และวิธีแก้ไขปัญหาอยู่ ในส่วนนี้ถ้าเราเป็น End-users ไม่ต้องตกใจไป ให้เราปรึกษาผู้ให้บริการ Email hosting ปัจจุบัน เพื่อขอคำแนะนำและแก้ไขได้ Related Articles : PTR record คืออะไร