Skip to content
Menu
Thailand Email Hosting
  • Home
  • Email Hosting
  • Delivery Issues
  • Email Hosting Security
  • Network Knowledge
  • Contact
Thailand Email Hosting
ภาพประกอบหัวข้อสร้างอีเมลบริษัทได้อย่างไร ? ( How to create a company email?)

สร้างอีเมลบริษัทได้อย่างไร ?

April 22, 2024July 4, 2024 by superadmin
FacebookTweetPin

บางบริษัทที่เริ่มทำธุรกิจมาแต่ยังใช้อีเมลในการติดต่องานเป็นฟรีอีเมลอยู่ เช่น @gmail หรือ @hotmail ซึ่งการใช้งานฟรีอีเมลนั้นอาจดูไม่ค่อยมีความน่าเชื่อถือสักเท่าไร จึงต้องการใช้งานอีเมลบริษัท แต่ไม่รู้ต้องเริ่มอย่างไร บทความนี้จะมาบอกถึงการสร้างอีเมลบริษัทโดยขั้นตอนง่าย ๆ กัน

Table of Contents

  • ทำความเข้าใจโครงสร้างของอีเมลบริษัท
    • อีเมลบริษัทคืออะไร ?
    • Domain Name คืออะไร ?
    • ขั้นตอนการสร้างอีเมลบริษัท
      • 1. การตรวจสอบความต้องการของบริษัทตนเอง
      • 2. การกำหนดงบประมาณ
      • 3. การคิดชื่อ Domain ที่ต้องการใช้งาน
      • 4. การคิดชื่อ User ที่ต้องการใช้งาน
      • 5. การเลือกระบบอีเมลบริษัทที่ต้องการใช้งาน
      • 6. การเลือกผู้ให้บริการอีเมล
    • ปัญหาที่จะพบในการใช้งานอีเมลบริษัท
    • ข้อมูลโดยสรุป
    • บทความที่เกี่ยวข้อง
    • บทความที่น่าสนใจ

ทำความเข้าใจโครงสร้างของอีเมลบริษัท

อีเมลบริษัทคืออะไร ?

อีเมลบริษัท คือ อีเมลที่มีชื่อโดเมนเป็นชื่อบริษัท เช่น yourname@companyname.com แน่นอนว่าการใช้อีเมลบริษัทนั้นช่วยความน่าเชื่อถือในการสื่อสาร แต่จริง ๆ แล้วยังมีประโยชน์มากมายอย่างที่คุณคาดไม่ถึง เช่น การช่วยควบคุมข้อมูลภายใน และการบริหารจัดการอีเมลในบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Domain Name คืออะไร ?

Domain Name คือ ส่วนหนึ่งที่อยู่ในชื่อ Email บริษัทโดย Domain Name นั้นจะเป็นชื่อที่อยู่หลัง @ เช่น Email somchai@bangkokmango.com ในส่วนของชื่อ “bangkokmango.com” คือ Domain Name นั่นเอง และคำว่า “somchai” เป็นชื่อ User นั่นเอง

ขั้นตอนการสร้างอีเมลบริษัท

1. การตรวจสอบความต้องการของบริษัทตนเอง

บริษัทขนาดเล็กส่วนใหญ่ต้องการเพียงสร้างอีเมล @company.com เท่านั้น แต่บริษัทที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมักมีความต้องการที่มากขึ้น เช่น การ Share Drive ภายในบริษัท การใช้งานปฏิทินในบริษัทเป็นต้น ซึ่งเราต้องเรียนรู้พฤติกรรมและพื้นฐานด้าน IT ของพนักงานตนเอง เนื่องจากหากท่านใช้งานระบบอีเมลที่มี Function มากมายแต่พนักงานไม่สามารถใช้งานได้ เราอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายไปโดยไม่จำเป็นและอาจจะเพิ่มความยากต่อการใช้งานของระบบมากขึ้นด้วย

2. การกำหนดงบประมาณ

ผู้ใช้งานควรกำหนดงบประมาณที่สามารถจ่ายไหวเพราะการใช้งานอีเมลบริษัทนั้นเป็นค่าใช้จ่ายต่อเนื่องรายปี ต้องมั่นใจว่าบริษัทสามารถจ่ายค่าใช้จ่ายนี้ได้ทุกปีเพราะการปรับเปลี่ยนในภายหลังอาจจะสร้างความยุ่งยากต่อการใช้งานตามมา

3. การคิดชื่อ Domain ที่ต้องการใช้งาน

โดยส่วนใหญ่แล้วบริษัทที่พึ่งเริ่มใช้งานอีเมลบริษัทมักจะยังไม่ได้จด Domain โดยทางเราขอแนะนำเทคนิคการคิดชื่อ Domain ที่ต้องการนำไปใช้งานดังนี้

  • สั้นและจดจำง่าย
  • หากจำเป็นต้องใช้ชื่อยาว ๆ ควรเป็นคำที่มีความหมาย และผู้คนทั่วไปสามารถสะกดได้ง่าย เช่น thailand ก็ควรใช้คำว่า thailand ไปเลยหรือ thai เป็นต้น เพราะเป็นคำทั่วไปที่สะกดได้ง่าย
  • ไม่ควรมีเครื่อหมาย – (ขีดกลาง) ถึงแม้ว่าจะใช้ได้เพราะอาจจะทำให้ผู้ต้องการเข้าเว็บสะกดผิดเป็น _ (ขีดล่าง) และพิมพ์ชื่ออีเมลผิดได้

4. การคิดชื่อ User ที่ต้องการใช้งาน

สำหรับการตั้งชื่ออีเมลนั้น สามารถตั้งตามความต้องการได้เลย แต่สำหรับท่านใดที่ยังคิดไม่ออก ทางเรามีตัวอย่างแนะนำดังนี้ บางบริษัทอาจจะตั้งชื่ออีเมลเป็นชื่อกลางแผนก เช่น account@company.com, it@company.com หรือ อาจจะตั้งชื่อเป็นชื่อพนักงาน เช่น sompong.a@company.com ซึ่งท่านต้องส่งรายชื่อเหล่านั้นไปยังผู้ให้บริการเพื่อสร้างระบบรองรับไว้

5. การเลือกระบบอีเมลบริษัทที่ต้องการใช้งาน

ปัจจุบันมีผู้ให้บริการอีเมลบริษัทจำนวนมากโดยท่านควรเลือกจากงบประมาณ และความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการอีเมลบริษัทที่เป็นที่นิยมดังนี้

  • GoCloud ของทางบริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
  • Google Workspace ของทาง Google inc.
  • Microsoft Office 365 ของทอง Microsoft inc.
  • Zoho Email ของทาง Zoho inc.

6. การเลือกผู้ให้บริการอีเมล

สำหรับการเลือกผู้ให้บริการนั้น บริษัทควรเลือกผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ และมีประสบการณ์ เพราะการเลือกผู้ให้บริการนั้นจะส่งผลต่อบริการหลังการขาย หรือ เวลาที่ท่านพบปัญหา

ปัญหาที่จะพบในการใช้งานอีเมลบริษัท

หลาย ๆ คนคงคิดว่าหลังจากใช้งานอีเมลบริษัทแล้วก็จะสามารถใช้งานได้อย่างราบรื่น ตราบใดที่ได้ทำการชำระค่าบริการให้แก่ผู้ให้บริการ แต่จริง ๆ แล้วอย่าลืมว่าอีเมลบริษัทนั้นถูกใช้งานโดยพนักงานที่มี Skill IT ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ตั้งแต่พนักงานบางท่านอาจจะมีความสามารถทาง IT ไม่ค่อยมากนัก ไปจนถึงพนักงานที่สามารถใช้งาน IT ได้อย่างคล่องแคล่ว และไม่มีทางที่พนักงานทั้งหมดจะใช้งานได้อย่างราบรื่นตลอดเวลา ซึ่งไม่ว่าระบบจะมีประสิทธิภาพมากเพียงใดหากเกิดปัญหาการใช้งาน ไม่ว่าจะเกิดการตั้งค่าผิดพลาดของพนักงานเอง หรือ จากระบบ ท่านต้องสามารถติดต่อผู้ให้บริการ และต้องได้รับคำแนะนำในการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

ข้อมูลโดยสรุป

อีเมลบริษัทเป็นระบบที่สำคัญยิ่งในการสื่อสารสำหรับบริษัท ในยุคปัจจุบัน ถึงแม้ว่าในการเริ่มใช้งานช่วงแรก ๆ อาจจะไม่ค่อยมีความสำคัญมากนักแต่เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งจะทราบว่าลูกค้า และผู้ติดต่อทั้งหมดจะทำการติดต่อมายังอีเมลบริษัท ดังนั้นควรเลือกผู้ให้บริการและระบบที่มีคุณภาพและบริการหลังการขายที่เชื่อถือได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ระบบ Email ของ MS365 หรือ Office 365 คืออะไร ?
  • หากต้องการใช้งาน Office 365 ราคาถูก !
  • MS365 VS Google Workspace VS Mail Server ต่างกันอย่างไรแบบไหนเหมาะกับเรา ?
  • Hybrid Email คืออะไร ?
  • การปรับราคาขึ้นของ Google workspace !

บทความที่น่าสนใจ

การ Migrate ข้อมูลเมื่อมีการย้ายผู้ให้บริการ Email Hosting
Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]
FacebookTweetPin

Recent Posts

  • วิธีใช้ Zoho email hosting พร้อม Calendar, Tasks, และ Notes อย่างมืออาชีพ
  • ระบบ Email ของ MS365 หรือ Office 365 คืออะไร ?
  • 5 ฟีเจอร์เด็ดใน Zoho Email Hosting ที่คุณอาจยังไม่รู้
  • Zoho Meeting
  • Zoho Calendar
  • Zoho WorkDrive
  • การตั้งค่าลายเซ็นต์ใน Outlook.com
  • Zoho Show
  • Zoho Sheet
  • Zoho Writer
  • Zoho Workplace กับ Email Marketing
  • Zoho Mail Hosting
  • ข้อแตกต่างของแต่ละ Plan ของ Zoho Workplace
  • Zoho Workplace
  • ประกาศจาก Microsoft
  • ย้ายข้อมูลภายในอีเมลได้หรือไม่ ?
  • การใช้งานร่วมกันระหว่าง Microsoft 365 business แต่ละ Plan
  • Windows 11 มาพร้อมกับอะไรบ้าง ?
  • ข้อแตกต่างของ Email Hosting กับ Email Marketing
  • Windows 11 Pro แบบ OEM คืออะไร ?

aaaa-record a record cname dkim dmarc dns dns record dnsrecord dns type dns work domain email header email security eml file error code error code email error message fillter spam imap imap mailserver incoming mailserver ip ipv4 ipv6 mac address mailbox mail delayed mail hosting mailserver mail server mx mx record ns record outgoing mailserver point dns pop pop mailserver reject message server email spam mail spf record whois domain ข้อความตีกลับ ปัญหา spam mail อีเมลตีกลับ

©2025 Thailand Email Hosting | Powered by WordPress and Superb Themes!