การใช้งาน Email Hosting และ Web Hosting จริง ๆ แล้ว สามารถใช้งานร่วม Server กันได้ โดยส่วนใหญ่จะพบตาม ผู้ให้บริการ Hosting ที่มีราคาถูก เช่นการพื้นที่เว็บไซต์ แล้วแถมอีเมลฟรี แต่เนื่องจาก Server เว็บไซต์นั้นไม่ได้ถูกออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานระบบอีเมลโดยเฉพาะ เช่น มี IP ที่ใช้ในการส่งออกเพียงตัวเดียวเท่านั้น จึงทำให้เกิดปัญหา IP ติด blacklist และทำให้ไม่สามารถส่งออกอีเมลไปยังปลายทาง หรืออีเมลไปเข้า Junk ของปลายทางได้ ดังนั้น เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานที่สมบูรณ์แบบ จึงควรแยกการใช้งานระหว่าง mail Hosting และ Web Hosting เป็น Server ที่เหมาะสมกับการใช้งาน คุณสมบัติของ Email Hosting ที่ดี มี IP ที่ใช้ในการสลับการ ส่งออก Outbound Server IP…
Tag: mail hosting
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Email ถูกส่งจากไหนใครเป็นคนส่ง ?
เมื่อเราได้รับ Email ที่ไม่ค่อยดีนัก เช่น Spam Mail จนไปถึง Email หลอกลวง (Phishing Email) ซึ่งอาจจะทำให้องค์กรหรือตัวเราเกิดความเสียหายสิ่งแรกที่ทุกคนมักจะทำคือค้นหาว่าใครเป็นผู้ส่งหรือสร้าง Email ที่เกิดผลเสียให้แก่องค์กรของเรา ซึ่งจริงๆแล้วการยืนยันตัวตนของผู้ส่ง Email เป็นสิ่งที่ไม่ได้ทำได้ง่ายๆแบบที่หลายๆคนคิด เพราะคนที่สร้าง Email หลอกลวงขึ้นมานั้นย่อมหลบหลีกด้วยวิธีที่คนธรรมดาไม่สามารถมีอำนาจตรวจสอบได้ง่ายๆ แต่ก็มีวิธีที่ดูได้คร่าวๆ เช่น ประเทศของผู้ส่งเราตามไปดูกัน ตรวจสอบจาก Sender Domain หากการส่งนั้นๆส่งถูกต้องตาม SPF (Sender Policy Framework) เราก็เพียงนำชื่อ Domain Name ของผู้ส่ง (Sender Domain) มาตรวจสอบหาข้อมูลเจ้าของ Domain ได้แต่เมื่อเอาเข้าจริงๆ Hacker ก็มักจะปิดบังข้อมูลของ Domain ไว้เพราะคงไม่มีใครใส่ชื่อนามสกุลจริงไว้ว่าเป็นเจ้าของ Domain ที่นำไปทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือถูกกฏหมาย ซึ่งหากเราอยากรู้ IP ของผู้จด Domain จริงๆ เราก็อาจจะต้องมีหมายศาลของผู้ให้บริการ Domain ที่ผู้ไม่หวังดีทำการจดเพื่อขอ IP…
ทำไมเราถึงไม่สามารถป้องกันการปลอมแปลงอีเมล์ได้ 100%
การปลอมแปลง Email คือการที่บุคคลอื่นหรือ Hacker พยายามที่จะปลอมตัวตนให้เป็นเราด้วยวิธีการมากมาย เช่น ปลอมให้เหมือนเพียงบางส่วน ปลอม Email ให้เหมือนกัน 100% การทราบ Password Email ของเราและสามารถใช้งาน Email ของเราได้แบบอย่างสมบูรณ์แบบและการจด Domain name ที่มีชื่อใกล้เคียงกับเราเป็นต้น วันนี้ผู้เขียนจะมาอธิบายการปลอมแปลงแต่ละแบบในรูปแบบที่เข้าใจง่ายเราตามมาอ่านต่อได้เลย การจด Domain ใหม่ที่เลียนแบบ Domain ขององค์กรเรา ยกตัวอย่างเช่น Domain ของเราชื่อ exampl[e]-thailand.com แต่หากมีผู้ไม่หวังดีที่พยายามเลียนแบบจด Domain ของเราเพื่อใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องเป็น exampl[a]-thailand.com เปลี่ยนจาก e ไปเป็น a และสร้าง Email ให้เหมือนชื่อของเรา เช่น mkt@exampl[a]-thailand.com (Email ที่เลียนแบบขึ้นมา) วิธีการนี้เราก็จะได้ชื่อ Email ที่แทบจะเหมือนกับ Domain ต้นฉบับมากๆ จนแทบสังเกตุไม่ได้ ซึ่งในทางเทคนิคหรือองค์กรของคุณมิได้มีชื่อเสียงในระดับโลก การจด Domain เป็นชื่อคล้ายกันก็ไม่มีหน่วยงานใดๆควบคุม…
Cloud SSD Mail Hosting คือ อะไร และ เร็วขนาดไหน ?
Cloud SSD Mail Hosting คือ อะไร และ เร็วขนาดไหน SSD (Solid State Drive) คือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบใหม่ใช้หน่วยความจำแบบ Flash Memory Chips รูปแบบเดียวกับ Flash Drive ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แทนการใช้งานแบบ HHD (Hard Disk Drive) ที่ใช้หน่วยความจำแบบที่ใช้จานหมุน ซึ่งหน่วยความจำแบบ SSD อาจจะมีราคาสูงกว่า แต่ด้วยประสิทธิภาพในความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลสูงกว่า HDD ลูกค้าจะได้ใช้ระบบ mail hosting ที่มีความรวดเร็วในการประมวลผลระดับ Server สูงและมีประสิทธิภาพที่มีการทำงานที่ดีกว่าเดิม โดยเฉพาะในด้านของการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์กร ที่มีระบบ Cloud มาจัดการบริหาร Server อย่างดี จึงให้เกิดการใช้งาน Network เครื่องข่ายความเร็วสูง ทั้งในด้านของการประมวลผล การเก็บข้อมูล จึงมั่นใจได้ว่าสามารถรับส่งข้อมูลได้รวดเร็ว และ ตลอดเวลา ซึ่งจะมีประสิทธิภาพกว่า ระบบ Mail…
5 ปัญหายอดฮิตของ email hosting ที่คุณควรรู้ และ คนขายไม่เคยบอกคุณ !
ก่อนที่จะทำการสร้างอีเมลองค์กร ผู้ใช้บริการมักไม่ทราบถึงการทำงานของ Email Hosting จึงทำให้การตัดสินใจสั่งซื้อผิดพลาด และ ผู้ให้บริการ email hosting จำนวนมากก็จะมีปัญหาการใช้งานยอดฮิต แต่ไม่ฮาเลยทีเดียว จนทำให้ผู้ใช้บริการต้องคอยนั่งเปลี่ยนบริษัทผู้ให้บริการ Email Hosting อยู่เรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เรามาดูกันว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ส่งอีเมล์ไม่ออก ปัญหานี้พบได้บ่อยมาก และ เป็นปัญหาเรื้อรัง หรือ บางทีเป็นช่วงๆ ซึ่งจะทำให้คุณไม่สามารถส่ง Email ไปยัง Hotmail, Gmail, Yahoo และ Email Hosting ปลายทางบางที่ได้เพราะ IP ของ Email Hosting คุณติด Realtime Blacklist (RBL) ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเยอะมากสำหรับผู้ให้บริการ Email Hosting ในหลายๆบริษัทของเมืองไทย หากผู้ให้บริการไม่มีประสบการณ์คุณก็ต้องเจอกับปัญหานี้ไม่ช้าก็เร็ว Junk Mail มหาศาล หากคุณใช้บริการพวก Free Email เช่น hotmail, gmail คุณจะได้รับ Junk mail น้อยมากถึงขั้นไม่มี เพราะเค้ามีเงินทุนรวมถึงทรัพยากรมหาศาลเพื่อสร้างระบบประมวลผล Junk Mail ที่มีความแม่นยำ แต่ถ้าคุณมาใช้บริการ Email Hosting คุณจะพบว่า Junk Mail จะได้เยอะมาก ไม่ได้เยอะแค่วันละ 1-2 ฉบับ…
ค่า DMARC ใน DNS มีความสำคัญกับ Email server อย่างไร ?
จะสร้างอีเมลองค์กรการตั้งค่า ค่า DMARC ใน DNS มีความสำคัญกับ Email server เป็นอย่างมาก เพราะ DMARC (Domain-based Message Authentication, Reporting and Conformance) เป็นค่า Record ตัวหนึ่งใน DNS ที่สร้างความปลอดภัยให้กับผู้ส่ง โดยที่โดเมนที่มี DMARC นั้น ต่อยอดมาจาก SPF และ DKIM ซึ่งป้องกันการสวมรอยด้วยบัญชีผู้ส่ง เพื่อล่อลวงให้ผู้รับติดต่อสื่อสารกับผู้ส่งผิดคน อาจจะเป็นกลลวงของมิจฉาชีพที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ เกี่ยวกับการ Hack มาก่อน การทำงานของ DMARC DMARC จะทำงานร่วมกับ SPF และ DKIM โดยหลังจากข้อความผ่านการตรวจสอบของ SPF และ DKIM พบว่าเป็นข้อความที่ไม่ผ่านนโยบายความปลอดภัยที่มีการกำหนดไว้ DMARC จะมีหน้าที่กำหนดว่า จะทำอย่างไรกับข้อความนี้ต่อไป เช่น ปล่อยให้ส่งออกไป Reject หรือย้ายไปยัง Junk…
Email Hosting คืออะไร ?
Email Hosting เป็น Server ที่จัดเก็บข้อมูลอีเมลทั้งหมด พร้อมทั้งทำหน้าที่ในการเป็นทั้งผู้รับ และผู้ส่ง เพื่อที่ให้ผู้ใช้ (User) สามารถดึงข้อมูลไปใช้ผ่านระบบ Internet ไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ตได้ตลอดเวลา ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ โดยขั้นตอนการสร้างอีเมลบริษัทนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยาก การทำงานของ Email hosting เรื่องง่าย ๆ ที่หลาย ๆ คนยังไม่รู้ ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารหรือการทำงานส่วนใหญ่ล้วนผ่านทางระบบ Email ด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการนัดประชุม การส่งเอกสารใบสั่งซื้อ หรือการอนุมัติงานต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นงานที่สำคัญทั้งสิ้น แต่ถ้าเกิดปัญหากับระบบ Email Hosting ขึ้นมา เช่น ปัญหาส่งเมลไปไม่ถึงมือผู้รับ ส่งเมลล่าช้า หรือไม่สามารถรับอีเมลได้ ปัญหาเหล่านี้อาจจะสร้างความเสียหายเป็นอย่างมากให้กับผู้ใช้งาน หลายๆคน คงคิดว่า Email Hosting มีการทำงานที่มีความสลับซับซ้อนสูง ยิ่งถ้าเราไม่ได้ทำงานด้าน IT ด้วย ยิ่งไม่ต้องสนใจใหญ่เพราะยังไงเราก็ใช้งานเป็นแค่ End User…
การเปลี่ยนค่า DNS (MX) ทำไมถึงมีผลต่อการใช้งาน Email
เนื่องจากค่า MX Record (mail exchange) เป็นระเบียนสำหรับการกำหนดเส้นทางการรับ-ส่งข้อความอีเมลโดยเฉพาะ การเปลี่ยนค่าดังกล่าวจึงส่งผลต่อการรับส่งอีเมล โดยตรง Domain ทุกโดเมนควรมีค่า MX Record เพื่อที่ DNS จะได้รู้ว่าเราต้องหิ้วข้อความอีเมล ไปไว้ที่ Server ตัวไหนบนโลกใบนี้ หากเราส่งอีเมลโดยปราศจาก MX Record นั่นแสดงว่าเรากำลังส่งอีเมลแบบที่ Spam มักจะใช้วิธีนี้ส่งกัน คือหาที่มาไม่ได้ว่าจะส่งหาใคร ซึ่ง Server ปลายทางส่วนใหญ่จะมีการตรวจสอบอยู่ที่มาของต้นทางอยู่แล้ว หาพบว่าแปลก ๆ ปลายทางก็มองว่าไม่น่าเชื่อถือ ก็จะตีกลับทันที ในหลายครั้งที่ปัญหาส่งอีเมล รับได้บ้าง ส่งออกไม่ได้บ้างเกิดขึ้น ส่งแรกที่ควรพิจารณาก่อนเป็นอันดับต้น ๆ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ของเราปิงเทสไปที่ Mail Server ของเราเองได้หรือไม่ เพื่อให้รู้ว่า Mail Server เรายังทำงานได้ตามปกติ เรายัง Connect ไปที่ Mail Server ได้อยู่ เมื่อมันทำงานปกติดี ก็เริ่มตรวจสอบสาเหตุอื่น ๆ…
MX record คืออะไร
จะสร้างอีเมลองค์กร ควรรู้เกี่ยวกับ MX record เพราะ MX record หรือ mail exchange(MX) เป็นระเบียนที่บันทึกค่าสำหรับนำอีเมลไปยัง Mail Server ระเบียน MX จะระบุว่าควรกำหนดเส้นทางข้อความอีเมล ตาม Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) ซึ่งเป็นโปรโตคอลมาตรฐานสำหรับอีเมล เช่นเดียวกับระเบียน CNAME ระเบียน MX จะต้องชี้ไปที่โดเมนอื่นเสมอ ตัวอย่าง MX Record domain.com record type priority value TTL @ MX 10 mailserver1.domain.com 11440 @ MX 20 mailserver2.domain.com 11440 ค่า priority หมายถึง ลำดับความสำคัญของ Server ตัวเลขต่ำสุดจะได้รับความสำคัญเป็นลำดับแรกในการเรียกใช้งาน จากข้อมูลด้านบน mailserver1.domain.com…
CNAME record คืออะไร
จะสร้างอีเมลองค์กร ควรรู้เกี่ยวกับ CNAME record เพราะ CNAME record หรือ Canonical name (CNAME) ระเบียนที่นำมาบันทึกแทน A Record ไปยัง Domain, Sub Domain โดยใช้เป็นชื่อโดเมนแทนอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น blog.domain.com มีการ Point ค่า CNAME ไปยัง domain.com ซึ่งเท่ากับว่าเวลา Enter blog.domain.com ใน Browser DNS จะ Lookup ไปยัง example.com โดยส่งกลับที่อยู่ IP ของ example.com ผ่านระเบียน A Record ตัวอย่าง CNAME record blog.domain.com record type value TTL @ CNAME…