เพราะอะไรสถานะโดเมนถึงกลายเป็น CLIENT HOLD หรือ REGISTRAR-HOLD สาเหตุเกิดจากโดเมนของเราหมดอายุกับทางผู้ให้บริการ เมื่อเรา Lookup ในเว็บไซต์ WHOIS เราจะพบว่าสถานะกลายเป็น Client hold หรือบางทีก็ขึ้นว่า Registrar-hold แบบนี้ให้ติดต่อผู้ให้บริการเพื่อชำระค่าบริการต่ออายุโดเมนเนม ระบบจึงจะกลับมาทำงานตามปกติตัวอย่าง แม้ว่าวันหมดอายุจะบอกว่าโดเมนยังไม่หมดอายุ หรือหมดอายุปีหน้า แต่ผู้ให้บริการได้ทำการคงสถานะไว้ ไม่ให้โดเนมกลายเป็นโดเมนว่าง จึงทำให้เราคิดว่าโดเมนเนมยังไม่หมดอายุ หากเจ้าของโดเมนเนมไม่ได้ทำการต่ออายุกับผู้ให้บริการเกิน 40 วัน โดเมนเนมก็จะถูกลบออกจากระบบโดยทันที ทำให้เราเกิดปัญหาเว็บไซต์ล่ม หรือระบบอีเมลใช้งานไม่ได้ตามมา บทความที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบวันหมดอายุโดเมนตรวจสอบชื่อโดเมนที่ว่างวิธีหาค่า DNS Server ของโดเมนที่ใช้งาน
Author: superadmin
แนะนำวิธีแก้ไขปัญหาอีเมลเบื้องต้น ไม่ต้องง้อ IT
ปัญหายอดฮิตสำหรับพนักงานออฟฟิศที่ใช้งานอีเมล คือ รับอีเมลไม่ได้, ส่งอีเมลไม่ได้, ลืมรหัสผ่าน ซึ่งในวันนี้ผู้เขียนอยากจะแนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาพื้นฐานด้วยตนเองโดยไม่ต้องง้อ IT เพราะ IT บางทีงานเยอะ หรือบางองค์กรก็ไม่มี IT มาคอย Support End-users ปัญหาอีเมลชื่อบริษัทโดยเฉพาะ รับอีเมลไม่ได้จากทุกผู้ส่ง หมายความว่าทุก Senders ที่ส่งข้อความมาที่ Email account เราจะไม่ได้รับอีเมลสักฉบับเลย ขั้นแรก ให้เราเปิดเว็บเมลตรวจสอบที่หน้า Mailbox ของบัญชีอีเมลดังกล่าวว่ายังมีพื้นที่เหลืออยู่หรือไม่ ถ้า Mailbox เต็ม แถบสถานะด้านล่างจะแสดงเป็น 100% of 100% หรือถ้าใกล้เต็มจะเป็นตัวอักษรสีแดงซึ่งวิธีการแก้ไขด้วยตนเองง่ายมาก คือ ลบข้อความเก่า ๆ ที่ไม่ต้องการแล้ว ออกจาก Mailbox: Inbox, Sent, Junk/Spam folders ต่าง ๆ จากนั้นตามไปลบแบบถาวรอีกครั้งที่ Trash folder ซึ่งจะทำให้พื้นที่ Mailbox เหลือมากขึ้น จนสามารถรับข้อความต่อไปได้ ถ้า Mailbox…
IMAP, POP (SSL/TLS) Encryption Port
การใช้งานบัญชีอีเมลประเภทใดนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแต่ละบุคคล สำหรับคนที่ใช้งานหนัก ๆ รับเมลทุกวัน วันละหลายฉบับ ก็คงต้องใช้ประเภทบัญชีแบบ POP ซึ่งจะมีข้อดีคือให้ลบบัญชีอีเมลออกจาก Mail server ตามจำนวนวันที่กำหนดได้ ก็จะไม่มีปัญหาเรื่อง Mailbox เต็ม สำหรับคนที่ใช้งานบัญชีอีเมลกับหลาย ๆ อุปกรณ์ แล้วต้องการให้ Sent item แสดงข้อมูลการส่งเหมือน ๆ กันทุกอุปกรณ์ ควรจะใช้งานแบบ IMAP ก็จะตอบโจทย์การใช้งานให้กับ Users เป็นอย่างดี แล้ว Port ต้องใช้ Port หมายเลขอะไร พอร์ตนี้ ให้เรามองภาพว่ามันเป็นเหมือนกับประตูบ้าน บ้านหลังหนึ่งอาจจะมีทางเข้ามากกว่า 1 ประตู เช่น ประตูหน้าบ้าน, ประตูหลังบ้าน, ประตูชั้นใต้ดิน ดังนั้นถ้าเจ้าของบ้านไม่ได้ Lock ประตูหน้าบ้านไว้ แต่ทางเข้าอื่นห้ามเข้า แสดงว่าเราก็เข้าบ้านหลังนั้นได้จาก ประตูหน้าบ้านทางเดียว นั่นแหละที่เรียกว่า PORT ดังนั้นการกำหนด Port ของ Mail Server ขารับ และขาออก เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการ…
วิธีการดู Email Header ของ Hotmail, Gmail, Outlook, Thunderbird
Email Header คือ รายละเอียดด้านเทคนิคเกี่ยวกับข้อความอีเมล เช่น ชื่ออีเมลผู้ส่ง, เส้นทางการส่ง ชื่ออีเมลผู้รับ ซึ่งทั้งหมดนั้นจะมีไอพีแอดเดรสของผู้ส่งด้วย รายละเอียดในส่วนนี้มีไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบข้อมูลด้านเทคนิคของผู้ให้บริการอีเมลบริษัท ที่จะไม่ได้แสดงในมุมมองเนื้อหาอีเมลปกติ โดยมีวิธีการตรวจสอบ Email Header ของ Client ต่าง ๆ มีดังนี้ ตรวจสอบผ่านการใช้งานผ่าน Gmail.com เปิดอีเมลที่ต้องการตรวจสอบ Header ไปที่ปุ่ม เพิ่มเติม ตามภาพ [หัวข้อที่ 1] เลือกไปที่ แสดงต้นฉบับ [หัวข้อที่ 2] จากนั้นจะมี New Window ขึ้นมาเป็นรายละเอียด Email Header ตรวจสอบผ่านการใช้งานผ่าน Hotmail.com/live.com/outlook.com เปิดอีเมลที่ต้องการตรวจสอบ Header ไปที่ปุ่ม More Action ตามภาพ [หัวข้อที่ 1] เลือกไปที่ View [หัวข้อที่ 2] เลือกไปที่ View Massage…
ทำไมเราจึงจดชื่อ domain ที่เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของคนอื่นไม่ได้
การจดทะเบียนโดเมนโดยนำ “ชื่อ” ของผู้ประกอบการอื่น หรือ “ชื่อเครื่องหมายการค้า” ของผู้ประกอบการอื่นมาจดทะเบียนเป็นโดเมนเนมไม่สามารถทำได้ ทั้งในโดเมนเนมระดับสากลและในโดเมนเนมระดับประเทศ เนื่องจากมีผลทางกฏหมาย ถือเป็นการละเมิดโดยไม่สุจริต เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในภายหลังหากมีการปล่อยให้จดทะเบียนโดเมนโดยผู้ให้บริการ ทางผู้ให้บริการจดโดเมนจึงมีมาตราการณ์รองรับในการพิจารณาชื่อโดเมนที่มีความที่เกี่ยวข้องกับ “ชื่อ” หรือ “ชื่อเครื่องหมายการค้า” ของผู้ประกอบการอื่นมาใช้งาน ตัวอย่างการใช้ชื่อโดเมนที่เป็นการละเมิด เช่น โดเมน google-me.co.th ไม่สามารถจดได้ google ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของแบรนด์ระดับโลก ทำอย่างไรจึงจะใช้ชื่อดังกล่าวได้แต่ละผู้ให้บริการจะมีเกณฑ์การพิจารณาแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ภายใต้การกำกับดูแลของ The Internet Corporation for Assigned Names and Numbers (ICANN) ส่วน ผู้ให้บริการโดเมนเนมระดับประเทศหรือที่เราเรียกว่า ccTLD (Country code top-level domain) หรือบริษัท THnic จะมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้ กรณีที่1. จดทะเบียนชื่อโดเมนโดยพิจารณาจากชื่อองค์กรของต่างประเทศ มีรายละเอียดดังนี้ค่ะ ชื่อโดเมนจำเป็นต้องสอดคล้อง หรือย่อมาจากชื่อองค์กร ไม่สามารถเพิ่มตัวอักษรได้ เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา สำเนาหนังสือรับรองบริษัทของนิติบุคคลต่างประเทศ (ทั้งต้นฉบับ และฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ) สำเนาหนังสือรับรองบริษัทของนิติบุคคลในประเทศไทย สำเนาหนังสือหนังสือรับรองที่รับรองโดยนิติบุคคลต่างประเทศ…
Mac Address คืออะไร
MAC Address หรือ Hardware Address เป็นชุดเลขฐาน 16 จำนวน 12 ตัว ซึ่งชุดเลขดังกล่าวนี้เป็นการยืนยันตัวตนของเครื่อง ๆ นั้นว่ามีอยู่จริง ไม่มีใครซ้ำได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า Physical Address เสมือนคนไทยก็ต้องมีเลขประจำตัวประชาชน เช่นเดียวกันอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ Internet ก็ย่อมมี Mac Address ที่ติดตัวมาจากโรงงานผู้ผลิต ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตามตัวอย่าง เคยสังเกตไหมว่า เวลาเราจะใช้ Wi-Fi ของทางมหาวิทยาลัย เขาก็จะบังคับให้นักศึกษาลงทะเบียนกรอก Mac Address ของอุปกรณ์ลงไปฐานข้อมูลก่อน เพื่อเป็นการจำกัดการใช้งาน เมื่ออุปกรณ์ดังกล่าวถูก Access point ตรวจสอบว่ามีชุดเลข Mac Address ตรงกับฐานข้อมูล ก็จะสามารถเข้าใช้งาน Internet ของมหาวิทยาลัยได้ ซึ่งบางสถานศึกษาอาจจะมีการกำหนดให้นักศึกษาปริญญาตรี, ปริญญาโท และปริญญาเอก สามารถลงทะเบียนได้ 2 Mac Addresses แต่คณะอาจารย์และบุคคลากรของมหาวิทยาลัยสามารถลงทะเบียนได้ 3 Mac…
Email Header คือ อะไร ?
ในการรับส่ง Email ในระบบ Email Hosting นั้นหรือแม้แต่ Free Email ทั่วไปนอกจากเนื้อหา Email (Message Body) ที่เราอ่านปกติแล้วยังประกอบด้วย Email Header หรือแปลเป็นภาษาไทยง่ายๆเลย คือ ส่วนหัวของ Email ซึ่งจะไม่ได้ถูกแสดงออกใสในเนื้อหา Email ด้วยเพราะส่วนใหญ่นั้นเป็นข้อมูลทางเทคนิคที่ User ทั่วไปอาจจะไม่ค่อยความหมายของมันนัก Email Header มีไว้ทำไม Email Header มีไว้เพื่อแสดงข้อมูลอย่างละเอียดของ Email ฉบับนั้นๆ เช่น IP ของ Mail Server ที่ใช้ส่ง Email Client ที่ใช้ส่ง ผลการตรวจสอบ SPF, DKIM, DMARC ซึ่งเป็นค่าเบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยและเวลาที่ส่ง Email ที่แท้จริงรวมถึงข้อมูลทางเทคนิคเกือบทั้งหมดซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อใช้วิเคราะห์ปัญหาการรับส่ง Email อย่างละเอียด เราตามมาดูตัวอย่างของ Email Header กัน Email…
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Email ถูกส่งจากไหนใครเป็นคนส่ง ?
เมื่อเราได้รับ Email ที่ไม่ค่อยดีนัก เช่น Spam Mail จนไปถึง Email หลอกลวง (Phishing Email) ซึ่งอาจจะทำให้องค์กรหรือตัวเราเกิดความเสียหายสิ่งแรกที่ทุกคนมักจะทำคือค้นหาว่าใครเป็นผู้ส่งหรือสร้าง Email ที่เกิดผลเสียให้แก่องค์กรของเรา ซึ่งจริงๆแล้วการยืนยันตัวตนของผู้ส่ง Email เป็นสิ่งที่ไม่ได้ทำได้ง่ายๆแบบที่หลายๆคนคิด เพราะคนที่สร้าง Email หลอกลวงขึ้นมานั้นย่อมหลบหลีกด้วยวิธีที่คนธรรมดาไม่สามารถมีอำนาจตรวจสอบได้ง่ายๆ แต่ก็มีวิธีที่ดูได้คร่าวๆ เช่น ประเทศของผู้ส่งเราตามไปดูกัน ตรวจสอบจาก Sender Domain หากการส่งนั้นๆส่งถูกต้องตาม SPF (Sender Policy Framework) เราก็เพียงนำชื่อ Domain Name ของผู้ส่ง (Sender Domain) มาตรวจสอบหาข้อมูลเจ้าของ Domain ได้แต่เมื่อเอาเข้าจริงๆ Hacker ก็มักจะปิดบังข้อมูลของ Domain ไว้เพราะคงไม่มีใครใส่ชื่อนามสกุลจริงไว้ว่าเป็นเจ้าของ Domain ที่นำไปทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือถูกกฏหมาย ซึ่งหากเราอยากรู้ IP ของผู้จด Domain จริงๆ เราก็อาจจะต้องมีหมายศาลของผู้ให้บริการ Domain ที่ผู้ไม่หวังดีทำการจดเพื่อขอ IP…